วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทัศนศิลป์


ทัศนศิลป์
        ทัศนศิลป์   หมายถึง  การมองเห็นหรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นทำให้เกิดความงาม  ความพอใจ และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ
        ความพึงพอใจของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขี้นอยู่กับวัฒนธรรม  ประเพณี  สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่ได้สร้างสมมา  มนุษย์ถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งแวดล้อม แล้วสร้างผลงาน  ทางศิลปะให้เกิดความงามและมีคุณค่า
        ความสำคัญ   ทัศนศิลป์  มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการด้านร่าร่างกาย  ด้านจิตใจ และด้านอารมณ์  ความต้องการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับทัศนะของแต่ละบุคคล   การมองเห็นความงามของธรรมชาติ ความสงบราบเรียบของท้องทะเลและอื่นๆ เป็นทัศนียภาพ  สิ่งที่มองเห็นเกิดความรู้สึกมีคุณค่าของความงามจนเกิดสุนทรียภาพ
        ศิลปะทำให้ชีวิตมีความหมาย   มนุษย์จะอยู่ได้ด้วยปัจจัย  4 ประการ  ได้แก่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  และ ยารักษาโรค   แต่มนุษย์ก็ยังต้องการ  อาหารทางใจ    มาช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน   และช่วยพัฒนาอารมณ์   จิตใจจึงจะทำให้ชีวิตนี้มีความสุขสมบูรณ์ได้
        อาหารทางใจที่มนุษย์ต้องการ มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ก็คือ  ศิลปะนั่นเอง
        ศิลปะ      เป็นผลงานอันเกิดจากความต้องพากเพียรของมนุษย์  ในอันที่จะสร้างสรรค์ความงาม    เพื่อจรรโลงจิตใจและประโยชน์ที่จะใช้สอยได้  
การสร้างสรรค์งานศิลปะของมนุษย์     แบ่งออกเป็น    2  ประเภทคือ        
1.วิจิตรศิลป์    สนองความต้องการทางอารมณ์และจิตใจ
        2.ศิลปประยุกต์   สนองความต้องการทางด้านประโยชน์ใช้สอย ซึ่งจะกล่าวถึงคุณค่าและการนำไปใช้เพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมต่อไป
          งานวิจิตรศิลป์   เป็นศิลปะแห่งความงดงาม  เพื่อให้มนุษย์เกิดความชื่นชมทางด้านจิตใจ  แบ่งเป็น  5 แขนง คือ  1.จิตรกรรม  2.ประติมากรรม  3.สถาปัตยกรรม  4.วรรณกรรม  5.นาฎศิลป์และดุริยางค์ศิลป์
        1.จิตรกรรม     ผลงานได้แก่   ภาพวาดหรือภาพเขียน  และผลงานศิลปะอื่นที่แสดงออกบนพื้นระนาบหรืองานที่มีลักษณะเป็น  2 มิติ
        ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม   คือ จิตรกร   เป็นอาชีพที่มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างงานวาดภาพทั้งกระดาษวาดเขียน  ผ้าใบ ฝาผนัง ภาชนะ เครื่องประดับและบนวัตถุอื่น ๆ งานจิตรกรรม  มีการสร้างสรรค์หลายรูปแบบ  เช่น  การเขียนภาพคน    ภาพคนเหมือน  ภาพดอกไม้ ภาพหุ่นนิ่ง   ภาพเรื่องราวการดำรงชีวิต ภาพประกอบเรื่อง เป็นต้น
        ศิลปินที่เป็น  จิตรกรในสาขาจิตรกรรมได้แก่  เฉลิม  นาคีรักษ์  เฟื้อ  หริพิทักษ์ ทวี
นันทขว้าง     สุชาติ  วงศ์ทอง   เป็นต้น
        2.ประติมากรรม   เป็นงานปั้นและแกะสลักด้วยวัสดุที่แปรรูปได้ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูนปลาสเตอร์  ไม้ เป็นต้น  รวมทั้งการนำมาทุบ ตี เคาะ เชื่อม และหล่อเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะ  3 มิติ
        ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม  คือ ประติมากร  เป็นอาชีพที่สำคัญ และมีเกียรติเป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนรวมอีกอาชีพหนึ่ง   โดยทั่วไปจะมีผู้ที่นิยมน้อยกว่าอาชีพจิตรกร  แต่ก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าให้แก่ตนเองและสังคมไม่ด้อยกว่าอาชีพใดๆ
        งานที่ประติมากรสร้างสรรค์มีตั้งแต่ผลงานขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่   เช่น เหรียญชนิดต่าง ๆ ภาชนะ เครื่องประดับตกแต่งพระพุทธรูป และรูปปั้นอนุสาวรีย์  ซึ่งได้แสดงคุณค่าทางความงามจากรูปร่าง รูปทรง และพื้นผิว  ตลอดจนแสงจากธรรมชาติที่ส่องมากระทบผลงานประติมากรรม
        ศิลป์    พีระศรี   ประติมากรรม  ผู้สร้างศิลปินไทย   สร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปรัชกาลที่  6  
ที่ สวนลุมพินี   อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา   และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร อีกด้วย     
        3.สถาปัตยกรรม     เป็นการออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ เช่นบ้านเรือนอาคารที่ทำการ   สนามกีฬา  วัด  โบสถ์   วิหาร  เจดีย์    สถูป  พีระมิด   เป็นต้น 
        งานสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์ หรือความงามตอบสนองความต้องการทางจิตใจ   มักจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม ที่สร้างขึ้นตามหลักศาสนาและความเชื่อถือศรัทธา   ส่วนสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มุ่งประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักและจะมุ่งเน้นความงามแบบเรียบง่าย  ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบแท่งเหลี่ยมสูงหลายชั้น เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างภาคพื้นดินค่อนข้างจำกัด จึงจำเป็นจะต้องใช้ พื้นที่บนอากาศให้มากที่สุด   ศิลปินสาขานี้ทางด้าน  สถาปัตยกรรมคือ  พลเรือตรี สมภพ    ภิรมย์   ประเวศ  ลิมปรังสี และภิญโญ  สุวรรณคีรี   เป็นต้น
        
คุณค่าต่อผู้ชมและสังคมส่วนรวม
- งานจิตรกรรม  เป็นศิลปะที่สื่อความงามและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้โดยง่าย  คุณค่าเบื้องต้น เป็นคุณค่าทางด้านจิตใจในการชมความงาม ความละเอียดอ่อนของเส้นสี  แสงเงา และองค์ประกอบของศิลป์ต่างๆ  ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ และให้คติธรรม แนวคิดในการดำรงชีวิต  และยังรักษาขนบธรรมเนียม  ประเพณีวัฒนธรรม ศาสนา และประวัติศาสตร์  จากจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ 
-  งานประติมากรรม    เป็นศิลปะที่สื่อความงามและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้ด้วยรูปทรง และพื้นผิว โดยมีแสงสว่างมากระทบให้เกิดเงาจากมิติความตื้นลึกของรูปทรงนั้น ๆ
-    งานสถาปัตยกรรม  เป็นศิลปะที่ใช้ประโยชน์ใช้สอยมากกว่า เพราะเป็นอาคารสถานที่สูง  และเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั่นเอง   โดยเริ่มจากการดูแลรักษาที่พักอาศัยต่าง ๆ  เข่น พระราชวัง โบสถ์   ตำหนัก  วัด  วิหาร  เจดีย์  สถูป  เป็นต้น
คุณค่าของผู้ชื่นชมและสังคมส่วนรวม
บทบาทของประชาชนทั่วไปในการใช้ประโยชน์และคุณค่าของสถาปัตยกรรมนับตั้งแต่บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย โดยเริ่มต้นจากการดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน การใช้หลักทางศิลปะ และรสนิยมส่วนตัว ตกแต่งบ้านเรือนให้น่าอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประดับตกแตงด้วยต้นไม้ และพื้นที่สีเขียวภายในบ้าน
สำหรับงานทางศิลปะที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์   ดังนั้น  เราจึงควรร่วมมือกันอนุรักษ์ศิลปะทั้ง จิตรกรรม   ประติมากรรม  และ  สถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ไว้สืบต่อไป


นักเรียนที่ให้ความสนใจในการที่นักเรียนได้เรียนวิชานี้      เป็นศิลปะ  ที่นักเรียนทุกคนจะต้องมี ทัศนศิลป์ของตนเอง  เพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ต่อไป

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบศิลป์

องค์ ประกอบศิลป์ เป็นประกอบของการเห็นที่เกี่ยวกับการรับรู้ทางการเห็นของมนุษย์ และศิลปินนำเอาส่วนประกอบทางศิลปะแต่ละอย่างมาจัดวางเข้าด้วยกัน ให้มีความเหมาะสม น่าสนใจ เกิดความงามชวนประทับใจ องค์ประกอบศิลป์มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่
  • จุด  เป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็ก ไม่มีมิติ จุดเมื่ออยู่ในพื้นที่ว่างจะมีผลต่อความรู้สึกของผู้ดู และเมื่อนำจุดมาเรียงต่อกันจะกลายเป็นเส้น จุดที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นและค่อยกระจายตัวออกไปจะทำให้เกิดน้ำหนัก
  • เส้น เป็นสื่อแสดงขอบเขตของภาพ ขอบเขตของรูปร่าง รูปทรง ขนาดและทิศทางเส้นมีลักษณะ 2 อย่าง ได้แก่เส้นตรงและเส้นโค้ง  เส้นตรง เป็นเส้นที่แสดงถึงความสง่า เข้มแข็ง ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง ได้แก่ เส้นตั้งเป็นเส้นแสดงถึงความสูง ความมีระเบียบ เส้นนอน เป็นเส้นที่แสดงถึงความกว้าง ความสงบ ความนิ่งเฉย เส้นทแยง แสดงความเคลื่อนไหวหรือการไม่อยู่นิ่ง ไม่หนักแน่น อันตราย ความเร็วและแสดงทิศทาง และเส้นหยัก ให้ความรู้สึกตื่นเต้น เคลื่อนไหว แปลกตา ไม่แน่นอน เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนช้อย ความนุ่มนวล ร่าเริง ให้ทิศทางการเคลื่อนไหวที่ละมุนละไม
    • รูปร่างและรูปทรง เป็นรูปที่เกิดจากการนำเส้นมาประกอบกันเป็นรูป ได้แก่ รูปร่าง เป็นรูปที่มีลักษณะ 2 มิติ มีเนื้อที่มีขอบเขต รูปทรงเป็นรูปที่มีลักษณะ 3 มิติ มีปริมาตรที่เป็นความหนาหรือความลึก
        • น้ำหนัก เป็นคุณค่าของความอ่อนแก่ของสี หรือแสงเงาที่นำมาใช้ในการแสดงออกทางศิลปะ ทำให้แลดูมีความกลม มีความตื้นลึก
            • สี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างสรรค์งานศิลปะ สีในงานศิลปะ มีผลต่อจิตใจ เช่น สีแดงทำให้รู้สึกตื่นเต้น มีพลัง รุนแรง สีเหลืองทำให้รู้สึกสนุกสนาน หรือสีฟ้าทำให้รู้สึกสงบ เย็น เป็นต้น
                • ช่องว่างในงานศิลปะหมายถึงบริเวณหรือพื้นที่ต่าง ๆ ในงานนั้น ๆ
                  • พื้นผิว คือลักษณะผิวในงานศิลปะที่ให้ความรู้สึกในการเห็น เช่น ลักษณะหยาบ ขรุขระ ริ้วรอย เรียบ มันวาว เป็นต้น

                  ทัศนธาตุ

                  ทัศนธาตุหมายถึงอะไร

                  ทัศนธาตุ
                  (Visual Elements)  ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง  ส่วนประกอบของศิลปะที่มองเห็นได้  ประกอบไปด้วย

                       1. จุด (Dot)  หมายถึง  รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ  ปรากฎที่พื้นผิว  ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด
                            จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ  เช่น  นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น  และการนำจุดมาวาง
                  ให้เหมาะสม  ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้  

                       2. เส้น (Line)  เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้  เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์  เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะ
                  ทุกแขนง  ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฎเป็นรูปภาพ
                            เส้น (Line)  หมายถึง  การนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว  หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด
                  เขียน ลาก  ให้เกิดเป็นริ้วรอย
                                 - เส้นนอน  ให้ความรู้สึกกว้างขวาง  เงียบสงบ  นิ่ง  ราบเรียบ  ผ่อนคลายสายตา
                                 - เส้นตั้ง  ให้ความรู้สึกสูงสง่า  มั่นคง  แข็งแรง  รุ่งเรือง
                                 - เส้นเฉียง  ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง  เคลื่อนไหว  รวดเร็ว  แปรปรวน
                                 - เส้นโค้ง  ให้ความรู้สึกอ่อนไหว  สุภาพอ่อนโยน  สบาย  นุ่มนวล  เย้ายวน
                                 - เส้นโค้งก้นหอย  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว  การคลี่คลาย  ขยายตัว  มึนงง
                                 - เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา  ให้ความรู้สึกรุนแรง  กระแทกเป็นห้วง ๆ  ตื่นเต้น  สับสนวุ่นวาย  และการขัดแย้ง
                                 - เส้นประ  ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง  ไม่มั่นคง  ไม่แน่นอน
                            เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง  ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ  เช่น เส้นโค้งคว่ำลง  ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน  ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า  ผิดหวัง  เสียใจ  แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น  ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี  เป็นต้น

                       3. รูปร่างและรูปทรง           รูปร่าง (Shape)  หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ  มีความกว้าง  และความยาว
                            รูปร่าง  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  คือ
                                 - รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น  คน  สัตว์  และพืช  เป็นต้น
                                 - รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน  เช่น  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  และรูปวงกลม  เป็นต้น
                                 - รูปร่างอิสระ (Free Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์  ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี  ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนของตัวเอง  เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  เช่น  รูปร่างของหยดน้ำ  เมฆ  และควัน  เป็นต้น
                            รูปทรง (Form)  หมายถึง  โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฎแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ  คือมีทั้งส่วนกว้าง  ส่วนยาว  ส่วนหนา
                  หรือลึก  คือ  จะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง  มีเนื้อที่ภายใน  มีปริมาตร  และมีน้ำหนัก

                       4. น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value)  หมายถึง  จำนวนความเข้ม  ความอ่อนของสีต่าง ๆ  และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้  เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ  ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ  เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง

                       5. สี (Colour)  หมายถึง  สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา  ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 
                  สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย  เช่น  ทำให้รู้สึกสดใส  ร่าเริง  ตื่นเต้น  หม่นหมอง  หรือเศร้าซึมได้  เป็นต้น
                            สีและการนำไปใช้ 
                                 5.1 วรรณะของสี (Tone)  จากวงจรสีธรรมชาติ ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ  คือ
                                      - สีวรรณะร้อน  ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นหรือร้อน  เช่น  สีเหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม  ส้มแดง  แดง  ม่วงแดง  เป็นต้น 
                                      - สีวรรณะเย็น  ได้แก่  สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย  เช่น  สีเขียว  เขียวเหลือง  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  เป็นต้น
                                 5.2 ค่าของสี (Value of colour)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งทำให้ค่อย ๆ จางลงจนขาวหรือสว่างและทำให้ค่อย ๆ เข้มขึ้นจนมืด
                                 5.3 สีเอกรงค์ (Monochrome)  หมายถึง  สีที่แสดงอิทธิพลเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว  หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพ โดยให้ค่าของสีอ่อน กลาง แก่  คล้ายกับภาพถ่าย ขาว ดำ
                                 5.4 สีส่วนรวม (Tonality)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งที่ให้อิทธิพลเหนือสีอื่นทั้งหมด  เช่น  การเขียนภาพทิวทัศน์  ปรากฎสีส่วนรวมเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน  เป็นต้น
                                 5.5 สีที่ปรากฎเด่น  (Intensity)
                                 5.6 สีตรงข้ามกันหรือสีตัดกัน (Contrast)  หมายถึง  สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติ  เช่น  สีแดงกับสีเขียว  สีน้ำเงินกับสีส้ม  สีม่วงกับสีเหลือง

                       6. บริเวณว่าง (Space)  หมายถึง  บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาาในกาารจัดองค์ประกอบใดก็ตาม  ถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว

                       7. พื้นผิว (Texture) หมายถึง พื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย